มะแขว่นสุดยอดเครื่องเทศไทย



มะแขว่น สมุนไพรบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

ไม้ต้นนี้ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยพบขึ้นอยู่ตามป่าดิบบนพื้นที่ระดับต่ำไปจนถึงสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย มีชื่อเรียกอีกคือ กำจัด, กำจัดต้น, มะข่วง, หมักขวง และพริกหอม

พืชเครื่องเทศส่วนใหญ่ ล้วนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในเขตร้อน หลากหลายพืชเครื่องเทศถูกบรรจุลงในอาหารเพื่อปรุงแต่งกลิ่น รส ถนอมรักษา และยังเป็น ยารักษาสุขภาพ สืบทอดเป็นวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่างกันไปตามประเทศ ตามภูมิภาค สืบ ทอดแก่คนรุ่นหลัง และเกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนกันไปทั่วโลกอย่างขาดไม่ได้

มะแขว่น เป็นพืชเครื่องเทศหนึ่งที่พบมากทางภาคเหนือของไทย เป็นพืช เศรษฐกิจท้องถิ่นของจังหวัดภาคเหนือหลายจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดน่าน ถึงกับมีการ จัดงานมะแขว่นขึ้นทุกปี มะแข่วนมีความต้องการใช้ในการบริโภคประจำวันโดยเป็น เครื่องเทศหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือหลากหลายชนิด ผลผลิต มะแขว่น ได้จากทั้งการเก็บจากป่า และการปลูกที่แพร่หลายไปไม่น้อย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zanthoxylum limonella Alston.
ชื่อวงศ์ : RUTACEA
ชื่ออื่น กำจัด กำจัดต้น หมากแคน ลูกระมาศ หมากมาด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 115) มะแขว่น บ่าแขว่น มะแข่น บ่าแข่น (ภาคเหนือ) พริกหอม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 185)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะแขว่นเป็นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีหนามอยู่รอบลำต้นและ กิ่ง ต้นอ่อนจะมีสีแดงแกมเขียว ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ แต่ละใบจะมีใบย่อย 10-25 ใบ ช่อดอกเป็นช่อแบบกลุ่มย่อย มีสีขาวอมเทายาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร เปลือกของ ผลสีเขียวเมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลแก่จัดจะแตกออก เมล็ดกลมเรียบ เมื่อแก่ จัดจะมีสีดำเข้มเป็นมัน มีกลิ่นหอมฉุนคล้ายผักชี มีรสเผ็ดเล็กน้อย

สารสำคัญออกฤทธิ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณ
น้ำมันหอมระเหยสกัดจากเมล็ดมะแขว่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดจากพิษ ของสาร formalin และ Carragenin และเมื่อทดลองกับคนสามารถระงับการอักเสบบน ผิวหนังได้ เมื่อทาด้วยน้ำมัน น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจาก ผลมีฤทธิ์ในการขับพยาธิลำไส้ และยังไม่มีรายงานวิจัย ความเป็นพิษของมะแขว่น

สรรพคุณทางยาแผนโบราณ
ใช้รากและ เนื้อไม้เป็นยาขับลมในลำไส้ ลมขึ้นเบื้องสูง ทำให้หน้า มืดตาลาย วิงเวียน ลดความดัน เป็นยาขับโลหิตระดูของ สตรี แต่ไม่ใช้กับหญิงมีครรภ์ ใบแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ดสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน บำรุง โลหิต บำรุงหัวใจ ขับลม การใช้ในตำรายาจีน แก้ปวด ท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย และแก้อาการปวดไส้เลื่อน


ประโยชน์ทางอาหาร

ใบอ่อนกินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกปลาร้า ลาบ ก้อย ผลแห้ง ใช้เป็นเครื่องเทศผสมกับลาบ หลู้ ยำต่างๆ และเป็นเครื่องแกงแค ใส่เป็น เครื่องผสมแกงอ่อมไก่ แกงอ่อมเนื้อ ดับกลิ่นคาวทำให้ มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก โดยเฉพาะหากใครเป็นช่างคนสังเกตและชอบรับประทานกุ้งอบวุ้นเส้น จะพบว่ามีเม็ดดำๆถูกใส่ผสมลงไปด้วย ซึ่งหลายคนมักจะเข้าใจว่าเป็นเม็ดพริกไทยดำ เพราะจะมีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อนเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วคือเมล็ดแห้งของมะแขว่นชาวจีนนิยมใช้ปรุงอาหาร แทนพริกไทยดำอย่างกว้างขวาง นิยมเรียกในหมู่คนจีนว่า พริกหอม หรือ ชวงเจียว มีขายตามร้านเครื่องยาจีนทั่วไป ในประเทศมาเลเซีย อินเดีย และพม่า ใช้เมล็ดแห้งของมะแขว่นเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารอย่างแพร่ หลาย ชาวเขาบนดอยสูงของประเทศ ไทยจะรู้จักมะแขว่นเป็นอย่างดี

สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบ ขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ดกินแก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับ ปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน รากกับเนื้อไม้ต้มน้ำดื่มขับลมในลำไส้ แก้ลมเบื้องบน หน้ามืดตาลาย วิงเวียน และขับระดู


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.monmai.com/